ReadyPlanet.com
dot
dot
สมาชิก Login
อีเมล:
รหัสผ่าน:
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
นานาสาระเกษตรกับจ้าวไก่เกษตร
dot
bulletเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์ OP กับ พันธุ์ F1 คืออะไร
bulletทำไมปัจจุบันจึงเรียกเมล็ดพันธุ์พืชผักที่ขายกันอยู่ว่าเมล็ดพันธุ์ควบคุม
bulletเมล็ดพันธุ์พืชผักทำไมงอกช้าในฤดูหนาว
bulletสารปรับสภาพดินคืออะไร
bulletดินเพาะกล้า,ดินมีเดีย,ดินพีชมอส คืออะไร
bulletอากาศหนาวพืชผักมักไม่โต
dot
สินค้าเมล็ดพันธุ์พืชผัก
dot
bulletตราศรแดง
bulletตราเครื่องบิน(เจียไต๋)
bulletตราเสือดาว
bulletตราโอเค
bulletตรางอบทอง
bulletตราสิงโต
bulletตราตะวันต้นกล้า
bulletตราปลาทอง
bulletตราปลาวาฬ
bulletตราใบคู่
bulletตรา 3A
bulletตราช้าง
bulletตราดาวทอง
bulletตรากระทง
bulletตรานกแดง
bulletตราเพื่อนเกษตรกร
bulletตราแพะทอง
bulletตราภูเขา
bulletตราแม่น้ำ
bulletตรารถถัง
bulletตราลูกโลก
bulletตรา ซินเจนทาS&G
bulletตราทองเฉลิม
bulletตราแปซิฟิค
bulletตราภูเขาทอง
bulletตรารอยัลซี้ด
bulletตราสามดาว
bulletตราธนูทอง
bulletตราอุ้งมือทอง
bulletเมล็ดพันธุ์ผักซอง
dot
สินค้าอุปกรณ์การเกษตร
dot
bulletอุปกรณ์เพาะเมล็ดพันธุ์กล้า,ดินเพาะกล้า,ถาดเพาะเมล็ดพันธุ์กล้า
bulletจำหน่ายกล้ามะนาว
bulletรับเพาะกล้า
bulletสารปรับปรุงสภาพดิน
dot
วิธีและเทคนิคการปลูกพืชผักสวนครัวและพืชผักเพื่อการค้าชนิดต่างๆ
dot
bulletข้อมูลและรายละเอียดพืชผักแต่ละชนิด
bulletเมล็ดพันธุ์ผักปราศจากเชื้อ
bulletเทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์เคลือบ
bulletวิธีและเทคนิคการเพาะกล้า,การเพาะต้นกล้า
bulletวิธีและเทคนิคการปลูกพริกขี้หนูซุปเปอร์ฮอท
bulletการปลูกมะระจีน
bulletการปลูกผักชีฝรั่ง
bulletการปลูกแตงโมกินรี,แตงโมโตปิโด
bulletการปลูกคะน้า
bulletการปลูกผักบุ้งจีน
dot
รวมลิงค์เว็บเพื่อนบ้าน
dot
bulletพยากรณ์อากาศประจำวัน
bulletราคาผักจากตลาดสี่มุมเมือง
bulletข้อมูลตลาด คลังสินค้า ไซโลและห้องเย็น
bulletเครื่องซีลถุง-เครื่องแพ็คสินค้า
dot
รับข่าวสารจากเรา

dot
bulletแลกลิงค์กับเรา


ร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพร้านจ้าวไก่เกษตร


การปลูกคะน้า Kale
 
การปลูกคะน้า Kale
การปลูกคะน้า (KALE) 
 
 
                คะน้าเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่เรานิยมบริโภคส่วนของใบและลำต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica  oleracea  Var.  alboglabra จัดอยู่ในตระกูลกะหล่ำ   (Craciterae)   สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี  แต่จะให้ได้ผลดีที่สุดในการปลูกช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน   เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต  คะน้าชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์   มีพีเอชระหว่าง 5.5 – 6.8   (กรดอ่อน ๆ) ความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ แสงแดดเต็มที่ และอุณหภูมิระหว่าง 20 - 25 องศาเซลเซียส
                คะน้าเป็นพืชผักชนิดหนึ่ง ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ธาตุอาหารพืชของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริการายงานว่าในปริมาณ 100 กรัม ผักคะน้ามีน้ำ 83%, พลังงาน 53 แคลลอรี่,โปรตีน 6.0 กรัม,ไขมัน 0.8 กรัม,คาร์โบไฮเดรท 9.0 กรัม,   แคลเซี่ยม 249 มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส 93 มิลลิกรัม,เหล็ก 2.7 มิลลิกรัม,โซเดี่ยม 75 มิลลิกรัม,โปแตสเซี่ยม 378 มิลลิกรัม,วิตามิน 10,000 ไอ.ยูไธอะมิน 0.16 มิลลิกรัม, ไรโบฟลาริน 0.26 มิลลิกรัม,ไนอะซีน 2.1 มิลลิกรัม และกรดแอสคอบิค 186 กรัม
                คะน้านอกจากจะนิยมบริโภคในแถบทวีปเอเชียแล้วยังนิยมปลูก และบริโภคในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว เช่น ในทวีปยุโรปและอเมริกาด้วย ดังนั้นจึงสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้
 
          1. คะน้าธรรมดา หรือคะน้าใบมีลักษณะใบกลมใหญ่ลำต้นสูงมาก ประมาณ 90 ซม.   นิยมตัดใบไปบริโภคเรื่อย ๆ จากล่างขึ้นบน ไม่นิยมตัดทั้งต้น
               2. คะน้าต้น หรือคะน้ายอดปลูกเอาต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 20 – 25 ซม. นิยมตัดไปบริโภคทั้งต้น หรือทั้งยอด
               3. คะน้าใบฝอย มีขนาดลำต้นไม่สูงมากนักมีลักษณะขอบใบหยักย่นเป็นฝอย ๆ ก้านใบยาว นิยมใช้เป็นผักสดประดับจานหรือประกอบสลัด
               4. คะน้าฝรั่ง มีลักษณะลำต้นสูง แผ่นใบแผ่กว้างเรียงซ้อนกันเป็นรูปกลม จนดูคล้ายว่าใบที่ยอดจะห่อหัวได้เหมือนกะหล่ำปลี แต่จะไม่ห่อ
               สำหรับพันธุ์คะน้าที่นิยมปลูกในบ้านเรานั้น สามารถแบ่งออกใหญ่ ๆ ได้ 3 พันธุ์ ดังนี้
               1. พันธุ์ใบกลม ลักษณะใบกว้าง ปล้องสั้น ปลายใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เช่นพันธุ์ฝางเบอร์ 1
               2. พันธุ์ใบแหลม  ลักษณะใบแคบกว่าปลายใบแหลมข้อห่าง ผิวใบเรียบ เช่นพันธุ์ ทีแอล 20
               3. พันธุ์ก้าน ลักษณะใบเหมือนพันธุ์ใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เช่น พันธุ์แม่โจ้ 1
 
การปลูก
               1.การหว่านเมล็ดปลูกโดยตรงในแปลง ควรมีการเตรียมดินให้ดี ย่อยดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ด หนาประมาณ 1 ซม. คลุมฟางหรือเศษหญ้าบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มชื้น และสม่ำเสมอเมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน หลังหว่านและควรถอนแยกให้ได้ระยะปลูกที่เหมาะสม ประมาณ 25 x 25 ซม.   เมื่อกล้ามีอายุ 30 วันหลังจากหว่าน
               2. การเพาะกล้า   และย้ายกล้าแปลงเพาะกล้าควรเตรียมดินให้ดี ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้ทั่วถึง ย่อยหน้าดินให้ละเอียด แปลงเพาะควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาวตามความเหมาะสม ควรเพาะกล้าแบบเป็นแถวตามขวางของแปลง แต่ละแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. รดน้ำให้ชุ่มชื้น และสม่ำเสมอ ควรถอนวัชพืชบ้าง  เมื่อเห็นว่ามีขึ้นมารบกวน และควรถอนต้นกล้าที่อ่อนแอหรือเบียดกันแน่นมากทิ้ง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25 – 30 วัน จึงย้ายปลูกต่อไป  ในแปลงปลูกควรเตรียมดินให้ดีเช่นเดียวกัน ถ้าดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับพีเอชให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะระยะปลูกที่เหมาะสมเท่ากับ 25x 25 ซม.
       จำนวนเมล็ดที่ใช้ วิธีหว่านเมล็ดปลูกโดยตรงในแปลงใช้เมล็ดจำนวน 1-2 กก. หรือ 1.2–2.5 ลิตรต่อไร่ ส่วนวิธีเพาะกล้าและย้ายปลูกนั้น ใช้เมล็ดจำนวน 35 กรัม หว่านในแปลงเพาะขนาด 2 ตารางเมตรจะได้ต้นกล้าจำนวนที่เพียงพอต่อการปลูก 1 ไร่
 
การปฎิบัติดูแลรักษา
               1.การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอทั่วถึง และสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำจะชงักการเจริญเติบโต
               2. การใส่ปุ๋ย  ควรใส่ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือ 12-8-8 อัตรา 100-150 กก.ต่อไร่   ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน  และปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ โดยแบ่งใส่ 3 ครั้งคือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก ครั้งที่ 2 และ 3 เมื่ออายุประมาณ 20 และ 30 วันหลังปลูก   อาจใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่นยูเรีย เป็นต้น ผสมเข้าไปในการใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย
 
 การป้องกันกำจัดโรค และแมลง
        1. โรคที่สำคัญ มีดังนี้
                1.1 โรคโคนเน่า หรือโรคเน่าคอดิน   (Damping off)                                                  
                สาเหตุ  เกิดจากเชื้อรา         
                                     พวก  phytophthora,Fusarium,rhizoctania  หรือ pythium.                                   
                 อาการ       ต้นกล้าเกิดอาการแผลเน่า หรือต้นหักพับและเหี่ยวแห้งตายไป บริเวณเกิดโรคจะขยายวงออกไปอย่างรวดเร็ว
                การป้องกันกำจัด    ก. อย่าหว่านกล้าผักให้ขึ้นแน่นเกินไป
                                              ข.    ถอนแยกและจัดระยะต้นกล้าให้พอเหมาะ
                                              ค.    ระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป
                                              ง.      ใช้สารเคมี เช่น แคปตาฟอล, ซินโคฟอล, วามีน, พีวีเคอร์, พีซีเอ็นบี, เบนโนมิล เป็นต้น
                1.2 โรคเหี่ยว   (Fusarium   Wilt)
              สาเหตุ  เชื้อรา   Fusarium   oxysproum
              อาการ  ใบล่างเหลืองเริ่มเหี่ยวและในที่สุดจะเหี่ยวในทั้งต้นถอนดูพบว่ารากขาด ผุเปื่อย เป็นสีน้ำตาล พบในระยะกล้ามากกว่า
              การป้องกันกำจัด     ก. อย่าให้ดินปลูกแน่น
                                             ข.   ปรับพีเอชดินให้เป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย
                                             ค.   ปลูกพืชหมุนเวียน
                                            ง.      ใช้สารเคมี เช่น พีซีเอ็นปี, คอบเปอร์อ็อกซีคลอไรด์ เป็นต้น
                 1.3 โรคน้ำค้าง   (Downy   mildew)
               สาเหตุ         เชื้อรา   Peronospora   Parasitic
           อาการ      เป็นรอยดำสีเหลืองเป็นหย่อมๆ บนใบ ส่วนใต้ใบจะเป็นแผลสีเหลือง หรือสีน้ำตาลและมีผงขาว ๆ ขึ้นเป็นหย่อม ๆ ถ้าระบาดมากจะแห้งทั้งใบและตายไป
     การป้องกันกำจัด      ใช้สารเคมี เช่น แคปแทน, แคปตาซอล, มาเนบ, ซีเนบ, วามีน และปราโว เป็นต้น
 
 
       2. แมลงที่สำคัญมีดังนี้
            2.1 หนอนใบผัก (Diamon   Back   Moth)
                ลักษณะ   มีขนาดเล็กมาก หัวท้ายแหลมและส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมา 2 แฉก  ลำตัวสีเขียวอ่อน, เทาอ่อน และเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรงและสามารถทิ้งตัวลงดิน โดยสร้างเส้นใย ทำลายคะน้าโดยการกัดกินใบส่วนยอดที่กำลังเจริญ และใบแก่จนเป็นรูพรุนระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูแล้ง
                การป้องกันกำจัด        ก. ปลูกพืชหมุนเวียน
                                                  ข.  ไถดินตากแดดเพื่อทำลายไข่และตัวอ่อน
                                                  ค.    กำจัดวัชพืช และพืชอาศัยอื่น ๆ
                                               ง.ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เช่น ไดอะซินอน, ออร์ซีน และเมทามิไดฟอส เป็นต้น
     2.2 ด้วงหมัดกระโดด   (Flea   Beetle)
              ลักษณะ      มี 2 ชนิด คือลำตัวมีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาด 2 แถบลำตัวสีน้ำเงินเข้ม ตัวแก่เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาวประมาณ 1.5 ซม.   เวลาถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดไปได้ไกล เพราะโคนขาหลังใหญ่ทำลายผักคะน้าโดยการกัดกินใบจนพรุน โดยเฉพาะช่วงเป็นตัวหนอนชอบกัดกินรากด้วย มักระบาดมากที่สุดในฤดูฝน
         การป้องกันกำจัด        ก.   ปลูกพืชหมุนเวียน
                                           ข.      ทำลายพืชอาศัย และต้นคะน้าหลังการเก็บเกี่ยว
                                          ค.  ใช้สารเคมี เช่น เซฟวิน, เพอร์เมทริน ไซยาน๊อก และไซยาโนเฟนฟอส เป็นต้น
                                  ง.       ใช้สารฆ่าแมลงประเภทจุลินทรีย์ คือ เชื้อแบคทีเรีย   Bacillus   thuringiensis   ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน ซึ่งมีชื่อการค้าว่า ทูริไรด์, อโกรน่าและเอสพี เป็นต้น
      2.3 หนอนคืบกะหล่ำ   (Cabage   Looper)
              ลักษณะ  ระยะตัวหนอนจะใสไม่มีสี ถ่ายมาจะเขียวเข้มขึ้นและเขียวซีดในสุด   โตเต็มที่ขนาดยาว 4 ซม. เคลื่อนไหวโดยงอ และคืบตัวระหว่างขาปล้องกัดกินเนื้อในจนขาด   เหลือเส้นกลางใบไว้ระบาดมาก ในฤดูหนาว
            การป้องกันกำจัด        ก.   ปลูกพืชหมุนเวียน
                                              ข.      การปลูกผักตระกูลกะหล่ำในฤดูฝน จะลดมาก
                                           ค.     ใช้สารเคมีพวกเมทามิไดฟอส, เมวินฟอสและเมทโธมิล ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน
 
การเก็บเกี่ยว
                คะน้าที่ปลูกในบ้านเรา   ส่วนใหญ่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วันหลังย้ายปลูก โดยใช้มีดตัดบริเวณโคนต้น ตัดแต่งเอาใบแก่ที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำลายดอก รวบรวมบรรจุส่งตลาดต่อไป นอกจากนี้เรายังได้คะน้าอ่อน หรือยอดคะน้า หลังจากการถอนแยกเมื่ออายุ         30 วัน
 
การตลาด
                จากรายงานภาวะราคาสินค้าประเภทผักสดประจำปีต่าง ๆ ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พอสรุปได้ว่าราคาขายส่งผักคะน้าเฉลี่ยตลอดทั้งปี ราคาประมาณ 3.50-5.00 บาท โดยราคาผักคะน้าจะสูงในช่วงเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน หรือกรกฎาคม อาจเป็นเพราะเป็นฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งมีโรคและแมลงระบาดมาก ผักคะน้าออกสู่ตลาดน้อย ส่วนในฤดูที่ผักคะน้าออกสู่ตลาดมาก คือช่วยเดือนธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์นั้นราคาผักคะน้าจะต่ำมาก ฉะนั้นกสิกรผู้ปลูกควรพิจารณาปลูกในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝนดีกว่า โดยมีการปฎิบัติดูแลรักษาอย่างดีให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เพราะราคาสูงดังกล่าว
 
 
 
 
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร    สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
 



การปลูกพืชผักชนิดต่างๆ

การปลูกพืชผักแต่ละชนิด article
เทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์เคลือบ,เมล็ดพันธุ์เคลือบคืออะไร article
วิธีและเทคนิคการเพาะกล้า,การเพาะต้นกล้า article
การเพาะกล้า,การปลูกกล้าพริกขี้หนูลูกผสมซุปเปอร์ฮอท,การปลูกกล้าพริกขี้หนูซุปเปอร์ฮอท2(Hot Chilli Pepper) article
การปลูกมะระจีน,การปลูกมะระจีนลูกผสม Bitter cucumber-chinese article
การปลูกผักชีฝรั่ง,ผักชีใบเลื่อย,หอมจีน Garden parsley article
การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์852,บิ๊กไวท์854,สวีทไวท์25,ไวโอเลตไวท์926ตราศรแดง article
การปลูกแตงโม,การปลูกแตงโมกินรี,การปลูกแตงโมโตปิโด,Watermelon article
การปลูกผักบุ้งจีนใบไผ่ Chinese convolvulus article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
เบอร์โทร 02-922-4841 มือถือ :  089-4780889
อีเมล : jawkaikaset@hotmail.com
เว็บไซต์ : WWW.JAWKAIKASET.COM