การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์852,
บิ๊กไวท์854,สวีทไวท์25,ไวโอเลตไวท์926ตราศรแดง
การปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ปัจจุบันเกษตรหันมาปลูกข้าวโพดกันมากขึ้นข้าวโพดข้าวเหนียวส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์พื้นบ้านผลผลิตจะต่ำและพบปัญหาในการปลูกมากทางบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จึงพัฒนาสายพันธุ์เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากคือ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์852 บิ๊กไวท์854 สวีทไวท์25 และไวโอเลตไวท์926(ข้าวโพดขาวม่วง)ของตราศรแดง และข้าวโพดหวานลูกผสมคือ ไฮบริกซ์3 ไฮบริกซ์51 ชูการ์75 ซึ่งจะเรียกกันว่าข้าวโพดฝักสด ข้าวโพดฝักสดที่นิยมเรียกกันหมายถึง ข้าวโพดที่นำฝักสดมาบริโภค ซึ่งยังมี ข้าวโพดเทียน ข้าวโพดฝักอ่อนรวมอยู่ด้วย แต่ผมจะเสนอข้อมูลการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์852 บิ๊กไวท์854 สวีทไวท์25 และไวโอเลตไวท์926(ข้าวโพดขาวม่วง)
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมตราศรแดง
ชื่อพันธุ์ จำนวนแถว/ฝัก สีเปลือก/สีต้น สีของเมล็ด รสชาติ
บิ๊กไวท์ 852 12-14 เขียว-ม่วง/เขียว-ม่วง ขาว เหนียว นุ่ม อร่อย
บิ๊กไวท์ 854 12-14 เขียว-ม่วง/เขียว-ม่วง ขาว เหนียว นุ่ม อร่อย
กรีนเพริ์ล 14-16 เขียว/เขียว ขาว เหนียว นุ่ม อร่อย
สวีทไวท์ 25 12-14 เขียว-ม่วง/เขียว-ม่วง ขาว หวานเหนียว นุ่ม อร่อย
ไวโอเล็ต ไวท์ 926 14-16 เขียว/เขียว ขาว ปน ม่วง เหนียว นุ่ม อร่อย
ฤดูปลูก
ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็น ช่วงปลูกที่ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ควรอยู่ในฤดูหนาวระหว่าง เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม หรือต้นฤดูฝนระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงกรกฎาคม
การเตรียมดินปลูก การเตรียมดิน โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากแดดทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืชจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกและปูนขาวหว่านทั่วแปลงเพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน ทำการไถพรวนอีกครั้ง แล้วยกร่องแปลงความกว้างแปลง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวร่องแปลง 70-80 เซนติเมตร ความยาวร่องแปลงขึ้นอยู่กับพื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร
การปลูก
แบบแถวเดี่ยว ใช้ระยะระหว่างแถว 75 ซม.ระหว่างต้น 30 ซม. นำเมล็ดข้าวโพดหยอดลงในหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละ 1-2 เมล็ด โดยใช้ระยะระหว่างหลุม 25-30 เซนติเมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 1.5-2 กิโลกรัม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก หากหลุมใดไม่งอกก็จะทำการซ่อมและย้ายปลูกจากหลุมที่มี
แบบแถวคู่ ชักร่องกว้าง 120 ซม. ปลูกข้างสันร่องทั้งสองข้าง ระยะระหว่างต้น 30 ซม. ปลูกหลุมละ 1-2 เมล็ดแล้วถอนแยกเมื่ออายุ 12-15 วัน ให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม
การดูแลรักษา
การให้น้ำ การให้น้ำโดยการปล่อยน้ำเข้าร่องแปลงปลูกทุก 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพดิน
การใส่ปุ๋ย หลังจากต้นกล้างอกประมาณ 14-20 วัน จะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้าง ๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การกำจัดวัชพืชจะกระทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยและการกลบโคนต้น และมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพวกหนอนเจาะฝักหรือเจาะลำต้น
การป้องกันกำจัดโรคพืช ช่วงอายุ 14-20 วันควรจะใช้สารป้องกันจำกัดโรคพืชเรามาดูโรคแต่ละชนิดกัน
โรคราน้ำค้าง Peronosclerospora sorghi เข้าทำลาย ข้าวโพดตั้งแต่งอกจนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ในระยะที่มีฝนตกชุก ลักษณะอาการเป็นทางยาวสีเหลืองแคบๆ ไปตามความยาวของใบหรือเป็นแบบ systemic เห็นเป็นทางลายสีเหลือง เขียวอ่อน สลับกันเป็นทางยาว เมื่อนานเข้า รอยสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกิดเป็นอาการใบไหม้ แห้งตายในที่สุด บริเวณผิวใบโดยเฉพาะด้านล่างจะมีเส้นใยสีขาว ของเชื้อรา จับเป็นฝ้าเห็นได้ชัดเจน ในตอนเช้าตรู่ซึ่งมีน้ำค้างจัด ลำต้นแคระแกรน ต้นเตี้ย ใบผอม ข้อสั้น ฝักมักมีขนาดเล็กลง เมล็ดติดน้อยหรือไม่ติดเลย ช่อดอกหรือยอดอาจจะแตกเป็นพุ่ม
โรคราสนิม Puccinia polysora ปัจจุบันเป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุดก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพด ที่มีการปลูกอย่างต่อเนื่องเข้าทำลายข้าวโพดในระยะออกดอก รุนแรงที่สุดในฤดูปลายฝน(ส.ค. - พ.ย.) ลักษณะแผลเป็นตุ่มสีน้ำตาลแดงนูนจากผิว ลักษณะแผลค่อนข้างกลมถึงรูปไข่ แผลจะนูนทั้งสองด้านของใบ เมื่อเกิดมากขึ้นจะดันโป่งออก เมื่อเจริญเต็มที่ตรงกลางแผลก็จะปริแยกออก สีส้มคล้ายสนิมเหล็ก ใบข้าวโพดที่เกิดแผลมากขึ้นจะซีดเหลืองและแห้งในที่สุด ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม พันธุ์อ่อนแอ ใบจะไหม้แห้งภายใน 1 สัปดาห์
โรคใบไหม้แผลเล็ก Bipolaris maydis เข้าทำลายข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สภาพอากาศร้อนชื้น ลักษณะอาการแผลจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามความยาวของใบ ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแดง ไม่เรียบสม่ำเสมอ และถูกจำกัดด้วยเส้นใบ เมื่อเป็นหลายๆ แผลเกิดติดต่อกันจะทำให้เกิดใบไหม้ นอกจากนี้ยังเป็นได้กับส่วนอื่นๆ อีก เช่น กาบใบ กาบฝัก ลำต้น และฝัก
โรคใบไหม้แผลใหญ่ Bipolaris turcica เข้าทำลายข้าวโพดในระยะออกดอก รุนแรงที่สุดในฤดูแล้ง(ธ.ค. - มี.ค.) แต่ปัจจุบันเข้าทำลายได้ทุกฤดู ลักษณะอาการ ระยะแรกจะเหมือนกับใบไหม้แผลเล็ก ต่อมาขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อบริเวณแผลเริ่มแห้งตายเป็นสีน้ำตาล หรือสีเขียวเทา ลักษณะแผลไม่ถูกจำกัดด้วยเส้นใบ ขอบแผลเรียบสม่ำเสมอ เมื่อเกิดแผลติดต่อกันหลายๆ แผลทำให้ใบไหม้ไปทั้งใบได้
โรคใบจุด Bipolaris zeicola เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเข้าทำลายข้าวโพดในฤดูแล้ง(ธ.ค. - มี.ค.) สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของข้าวโพดและทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ต้นเล็กจนถึงระยะออกดอก อาการที่ใบจะเป็นจุดสีเหลืองถึงสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ เมื่อมีหลายๆ แผลติดกันทำให้ใบไหม้ใปทั้งใบได้
โรคใบจุดสีน้ำตาล Physoderma maydis โดยปกติพบได้ทั่วไปบริเวณเส้นกลางใบจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ภายหลังเชื้อราเข้าทำลายจะทำให้ใบหักพับ แต่ในพันธุ์ที่อ่อนแอแผลจะเกิดขึ้นบนพื้นที่ใบ จะเห็นรอยจุดติดๆ กัน เป็นปื้นสีน้ำตาลเข้มทำให้ใบไหม้ นอกจากนั้นจะเห็นที่กาบใบ ลำต้น เปลือกหุ้มฝัก และช่อดอก อาการจะรุนแรงระยะออกดอก ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก
โรคกาบและกาบใบไหม้ Rhizoctonia solani เข้าทำลายข้าวโพดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะกล้า โคนต้นมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ลำต้นหักพับ ระยะต้นโต เชื้อรานี้เข้าทำลายได้ทุกส่วนของข้าวโพด ใบ กาบใบ กาบฝัก เปลือกหุ้มฝัก ลักษณะแผลบนใบ ลักษณะแผลจะมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขอบสีน้ำตาลและไหม้แห้ง ใต้ใบบริเวณแผลจะเห็นเส้นใย อัดเม็ดกลมๆ กระจายอยู่ทั่วไป
โรคไวรัส SCMV & MDMV
MDMV โรคไวรัสใบด่างแคระ ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ประตามความยาวของใบโดยเฉพาะที่ใบอ่อน ถ้าเป็นในระยะต้นเล็กจะทำให้ต้นแคระแกรม ข้อสั้น ใบเขียวเข้ม ถ้าเข้าทำลายในระยะต้นโตจะทำให้ใบเหลืองซีด ชะงักการเจริญเติบโต
SCMV โรคไวรัสใบด่างอ้อย ลักษณะอาการ ใบด่างเป็นขีดเล็กๆ สีขาว หรือเหลืองสลับเขียว ขนานไปกับเส้นกาบใบ ในระยะต้นโต ที่ฝักข้าวโพดจะพบเปลือกเป็นสีขาวตั้งแต่ฝักเล็กจนถึงฝักใหญ่
โรคลำต้นเน่า Macrophomina phaseolina โรคนี้เข้าทำลายต้นอ่อน จะทำให้เกิดอาการแห้งตายระยะต้นแก่ ทำให้เกิดลำต้นเน่า ส่วนมากจะเข้าทำลายในระยะต้นแก่ ตั้งแต่ระยะออกดอกจนถึงอายุแก่ เมื่อฉีกลำต้นดูจะพบเส้นใยอัดเม็ดสีดำทองดูคล้ายหยดถ่านหิน กระจัดกระจายปกคลุม ทำให้เห็นเป็นทางหรือขีดเส้นสีดำเต็มไปหมด เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในถูกทำลาย เมื่อมีลมแรงหรือใช้มือโยกเบาๆ ลำต้นจะหักพับ ส่วนใหญ่บริเวณปล้องต้นๆ เหนือดิน
โรคลำต้นเน่า Fusarium moniliforme โรคนี้เข้าทำลายทั้งต้นอ่อน ต้นแก่ และฝัก อาการที่ฝักจะเห็นเส้นใยสีขาวเน่าไปทั้งฝักได้ ที่ลำต้นภายหลังเชื้อเข้าทำลายต้นจะเหี่ยว ดูลักษณะภายนอกลำต้นปล้องล่างๆ จะเห็นเป็นขีดๆ รอบลำต้น ฉีกลำต้นดูเนื้อเยื่อภายในจะเป็นสีชมพู ความชื้น เหมาะสม ส่วนที่ถูกทำลายจะเป็นสีม่วง ขณะต้นเริ่มแสดงอาการเหี่ยวใช้มือโยกลำต้นจะหักบริเวณโคนต้น และต้นจะแห้งตาย
สารป้องกันจำกัดที่แนะนำ
ชื่อการค้า ชื่อสามัญ อัตรา(กรัม / น้ำ 20 ลิตร) ระยะเวลาที่ spray (อายุพืช) บริษัท
โรคใบไหม้แผลเล็ก (southern leaf blight) เข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโต
Zinfez Zineb 40 28,35,45 และ 52 บ.เอฟ.อี.ซิลลิค
Antracol 70 % WP Propineb 20 บ. ไบเออร์
Benlate Benomyl 20 บ. ดูปองต์
โรคใบจุด (carbonum leat spot) เข้าทำลายทุกระยะการเจริญเติบโต
Siam - maneb 80 % WP Manganese - ethylenebis 45 28,35,45 และ 52 บ. สยามแอ็ค
ไซมอกซา 40
โรคใบไหม้แผลใหญ่ (northern leaf blight) เข้าทำลายในระยะออกดอก
Lonacol Zineb 40 ปกติ 42 และ 49 วัน บ. ไบเออร์
Zinfez Zineb 40 ฤดู Dry season ให้ spray บ.เอฟ.อี.ซิลลิค
Antracol 70 % WP Propineb 30 ที่ 35 และ 42 บ. ไบเออร์
โรคราสนิม (rust) เข้าทำลายในระยะออกดอก
Score 250 ECdifenoconazole 5 ซีซี ปกติ 42 และ 49 วัน บ. ซินเจนทา
อามูเร่ 300 อีซี โพรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล 15 ซีซี ฤดู Late rainy season บ. ซินเจนทา
ให้ spray ที่ 35 และ 42 วัน
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานนับว่ามีผลต่อคุณภาพของข้าวโพดฝักสด การเก็บเกี่ยวจะใช้วิธีกานับอายุวันปลูกถึงเก็บเกี่ยว เช่น ข้าวโพดข้าวเหนียว นับอายุจากวันปลูกถึงเก็บเกี่ยว 60-65วัน นอกจากนั้นอาจใช้วิธีการสังเกตกาบหุ้มฝักข้าวโพดที่เริ่มเปลี่ยนสีเขียวปนน้ำตาล ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดต่อ 1 ไร่ประมาณ 3,000 บาท
รวบรวมข้อมูลโดย www.jawkaikaset.com